ผู้เชี่ยวชาญไอที เนคเทค ตั้งข้อสังเกตเข้าฮอตเมล์ไม่ได้ เกิดจากหลายปัจจัย พร้อมเตือนผู้ใช้งานอย่าโพสต์อีเมล์ในโซเชียลเน็ตเวิร์ค ขณะที่ ผู้มีปัญหาสามารถทำ 7 ขั้นตอน แล้วรอผล 2 วัน…
ช่วง 2-3 วันที่ ผ่านมานี้ หลายคนที่ใช้บริการฮอตเมล์(hotmail) คงหงุดหงิดใจไม่น้อยกับการเข้ารหัสส่วนตัว หรือ ล็อกอิน ไม่ได้ ทั้งๆ ที่ใช้งานมาตั้งนานไม่เคยมีปัญหา และยังเป็นอีเมล์ประจำที่ใช้ติดต่อสื่อสารด้วย
พนักงานบริษัทรายหนึ่ง ผู้ใช้งานบริการฮอตเมล์ เปิดเผยว่า กว่า 10 ปี แล้ว ที่ใช้ฮอตเมล์เป็นอีเมล์หลัก ในติดต่อสื่อสาร ทั้งเรื่องงาน และเรื่องส่วนตัว จากเดิมที่เคยเข้ารหัสและใช้งานได้ตามปกติ แต่ระยะหลัง 2-3 วัน ที่ผ่านมา ไม่สามารถใช้งานได้ หลังจากนั้น มีผู้แนะนำให้เปลี่ยนรหัสส่วนตัวใหม่ ก่อนใช้งานได้ปกติเพียง 2 วัน ก็ เข้าใช้งานไม่ได้แล้ว โดยไม่ทราบสาเหตุว่าเกิดจากอะไร และยอมรับว่ามีปัญหากับการสื่อสารมาก
ดร.โกเมน พิบูลย์โรจน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ เนคเทค กล่าวถึง ปัญหาที่ผู้ใช้ฮอตเมล์เข้า ล็อกอินรหัสเดิมไม่ได้ว่า จากการตรวจสอบเบื้องต้น มีข้อสังเกตว่า เวลาเข้าฮอตเมล์ต้องใส่ แอดฮอตเมล์ (@hotmail.com) จากเดิมที่พิมพ์แค่ชื่อเมล์เท่านั้น และไม่แน่ใจว่าเป็นการบังคับของฮอตเมล์หรือไม่ หรือผู้ใช้ไม่เคยชินกับการเข้าระบบ
“เรื่องเซิร์ฟเวอร์ เราไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น ไม่รู้ว่าเขาทำอะไรอยู่ บางคนบอกเข้าได้ บางคนบอกเข้าไม่ได้ เราก็ไม่สามารถระบุได้ว่าเซิร์ฟเวอร์เขามีปัญหาหรือไม่ เพราะว่ายังมีคนที่เข้าได้อยู่”
ส่วนกรณีที่ใส่ทั้งชื่อ และรหัสผ่าน ไปแล้วมีตัวอักษรภาษาอังกฤษและตัวเลขลายๆ ให้ใส่ ตามที่เห็นนั้นผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ เนคเทค ชี้แจงว่า เป็นวิธีการเช็คก่อนเข้าสู่ระบบ ยกตัวอย่างเช่น เวลาลงทะเบียนระบบ เพื่อให้แน่ใจว่ามีใช้งานจริง ไม่ใช่โปรแกรมเป็นผู้ทำ เพราะคอมพิวเตอร์จะทำไม่ได้ เป็นต้น
ส่วนอีกประเด็น คือ ฮอตเมล์หมดอายุ ปกติถ้าไม่เข้า 1 เดือน จะโดนตัดอีเมล์ทิ้ง ทั้งนี้ เวลาสมัครจะอยู่ที่กรอกอายุการใช้งาน อีกกรณี คือ ไม่แน่ใจว่า เวลามีผู้ใช้อีเมล์จำนวนมาก แล้วจะตัดอีเมล์ของผู้ใช้รายอื่นทิ้งหรือไม่ เพราะเป็นบริการฟรี ถ้าเปิดใช้งานจำนวนมาก ก็อาจจะเกิดขึ้นได้ หรือ สงวนไปให้ผู้อื่นใช้ได้ อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่า ปัญหาที่เกิดขึ้น ไม่เกี่ยวกับ กรณีที่ผู้ใช้งานเก็บข้อมูลไว้ในอีเมล์ เพราะแต่ละอีเมล์จะมีข้อจำกัดเรื่องความจุอยู่แล้ว ถ้าหน่วยความจำเต็ม อีเมล์ก็ไม่เข้าเท่านั้นเอง
นอกจากนี้ ดร.โกเมน ยังมีมุมมองส่วนตัว ว่าการเข้า เว็บฮอตเมล์ ไม่น่าจะโดนโจมตีระบบคอมพิวเตอร์และฐานข้อมูลด้วยวิธีการปลอมแปลงอีเมล์ หรือ เว็บไซต์ เพื่อหลอกให้ผู้ใช้อีเมล์และเว็บไซต์ เชื่อว่าเมล์นั้นมีความน่าเชื่อถือ หรือ ฟิชชิ่งด้วย ทั้งนี้ จากการทดลองโพสต์อีเมล์จำนวน 2 ชื่อ ที่ไม่ใช่ฮอตเมล์ ลงบนหน้าเฟซบุ๊ค นั้น พบว่า ภายในเวลา 5 นาที มีอีเมล์ที่ไม่รู้จักเป็นภาษาอังกฤษ ส่งกลับมาที่อีเมล์ที่โพสต์ โดยมีใจความว่าต้องการเป็นเพื่อน และอยากรู้จัก และมีข้อความเป็นลิงค์ ที่ให้คลิกเพื่อสู่เว็บไซต์นั้น
ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ เนคเทค อธิบายว่า ประเด็นแรก โซเชียลเน็ตเวิร์ค คือการชวนเพื่อนไปเรื่อยๆ เพราะฉะนั้น ถ้าใส่อีเมล์ลงบนโซเชียลเน็ตเวิร์ค ผู้อื่นอาจจะส่งมาขอเป็นเพื่อนกับเรา ประเด็นที่สอง ขณะนี้ มีโปรแกรมที่กวาดอีเมล์ที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต เช่น โปรแกรมที่แฮกเกอร์ เขียนขึ้นมาเพื่อเก็บชื่ออีเมล์โดยเฉพาะ แล้วเก็บไว้ในสต๊อกอีเมล์ พอถึงเวลา ก็จะส่งฟิชชิ่ง ไวรัส หรือ หนอน ที่เขาต้องการ ไปหาอีเมล์เป้าหมายเหล่านั้น
สำหรับวิธีป้องกัน คือ ไม่ส่งอีเมล์ ของตัวเองไปยังที่สาธารณะ หรือ ถ้าต้องการโพสต์อีเมล์ ก็ไม่ควรพิมพ์ลงไป ให้เลี่ยงเขียนบนกราฟฟิก หรือ ไฟล์รูปภาพ ที่ไม่ใช่ตัวอักษร เช่น ถ่ายรูปอีเมล์ แล้วโพสต์ ข้อความลงไป แต่ถ้า พิมพ์ลงบนโซเชียลเน็ตเวิร์คไปแล้ว คงทำอะไรไม่ได้แล้ว นอกจากป้องกันตัวเอง อย่ารับคำเชิญแปลกๆ จากอีเมล์ที่ไม่รู้จัก หรือ คลิกรับตามคำเชิญต่างๆ
วิธีการที่จะช่วยผู้ใช้งานขจัดปัญหา การล็อคอินเข้าบริการ Windows Live Hotmail เบื้องต้น มีดังนี้
สำหรับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับล็อคอินเข้าสู่ระบบฮอตเมล์ ทำตามวิธีด้านล่างนี้ เพื่อส่งเรื่องให้กับทีม Windows Live Hotmail ตรวจสอบ และติดต่อกลับทางอีเมล์ต่อไป
ขั้นตอนการแจ้งปัญหาการใช้ Hotmail (หากคุณไม่สามารถมองเห็นหน้านี้เป็นภาษาไทยได้ กรุณาไปดูรายละเอียดในการแก้ไขให้หน้านี้แสดงผลเป็นภาษาไทยที่ http://technology.impaqmsn.com/article.aspx?path=spec&rid=0&id=10976 )
1.เข้าเว็บไซต์ www.windowslivehelp.com
ขั้นตอนการแจ้งปัญหาการใช้ Hotmail (หากคุณไม่สามารถมองเห็นหน้านี้เป็นภาษาไทยได้ กรุณาไปดูรายละเอียดในการแก้ไขให้หน้านี้แสดงผลเป็นภาษาไทยที่ http://technology.impaqmsn.com/article.aspx?path=spec&rid=0&id=10976 )
1.เข้าเว็บไซต์ www.windowslivehelp.com
2.คลิกที่ ลงชื่อเข้าใช้ โดยใช้ Hotmail ของคุณ หรือ Windowslive ID อื่นๆ
3.คลิกที่ อภิปราย (Hotmail)
4.คลิกที่ ถามคำถาม
5.ถ้ายังไม่ได้ลงทะเบียนจะพบข้อความนี้ สามารถทำรายการต่อได้โดย คลิกที่ “ต่อ” และลงทะเบียนก่อน
6.จากนั้นสามารถ ถามคำถามได้โดยกรอกข้อมูลในช่องต่างๆ เลือกกลุ่มของปัญหา และ กดส่ง (Submit)
7. ปัญหาของท่านจะถูก post เข้ามาใน Forum และสามารถเข้ามาตรวจสอบรายละเอียดการแก้ไขได้ภายใน 48 ชม.
ลิงค์อื่นๆที่จำเป็น 1.สำหรับผู้ที่ไม่สามารถล็อคอินได้ แต่ยังสามารถจำอีเมล์อีกหนึ่งบัญชี ที่กรอกไว้ตอนสมัครบริการครั้งแรก ให้คลิกที่ลิงค์นี้ เพื่อทำการกู้รหัสผ่านของท่าน
https://windowslivehelp.com /PasswordReset.aspx 2. สำหรับผู้ที่ไม่สามารถล็อคอินได้ และไม่สามารถจำอีเมล์อีกหนึ่งบัญชี ที่กรอกไว้ตอนสมัครบริการครั้งแรก ให้คลิกที่ลิงค์นี้ เพื่อทำการส่ง Request ให้กับทีมงาน Hotmail เพื่อดำเนินการตรวจสอบต่อไป https://windowslivehelp.com/forums.aspx?productid=10
ผู้เชี่ยวชาญไอที เนคเทค ตั้งข้อสังเกตเข้าฮอตเมล์ไม่ได้ เกิดจากหลายปัจจัย พร้อมเตือนผู้ใช้งานอย่าโพสต์อีเมล์ในโซเชียลเน็ตเวิร์ค ขณะที่ ผู้มีปัญหาสามารถทำ 7 ขั้นตอน แล้วรอผล 2 วัน…
ช่วง 2-3 วันที่ ผ่านมานี้ หลายคนที่ใช้บริการฮอตเมล์(hotmail) คงหงุดหงิดใจไม่น้อยกับการเข้ารหัสส่วนตัว หรือ ล็อกอิน ไม่ได้ ทั้งๆ ที่ใช้งานมาตั้งนานไม่เคยมีปัญหา และยังเป็นอีเมล์ประจำที่ใช้ติดต่อสื่อสารด้วย
พนักงานบริษัทรายหนึ่ง ผู้ใช้งานบริการฮอตเมล์ เปิดเผยว่า กว่า 10 ปี แล้ว ที่ใช้ฮอตเมล์เป็นอีเมล์หลัก ในติดต่อสื่อสาร ทั้งเรื่องงาน และเรื่องส่วนตัว จากเดิมที่เคยเข้ารหัสและใช้งานได้ตามปกติ แต่ระยะหลัง 2-3 วัน ที่ผ่านมา ไม่สามารถใช้งานได้ หลังจากนั้น มีผู้แนะนำให้เปลี่ยนรหัสส่วนตัวใหม่ ก่อนใช้งานได้ปกติเพียง 2 วัน ก็ เข้าใช้งานไม่ได้แล้ว โดยไม่ทราบสาเหตุว่าเกิดจากอะไร และยอมรับว่ามีปัญหากับการสื่อสารมาก
ดร.โกเมน พิบูลย์โรจน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ เนคเทค กล่าวถึง ปัญหาที่ผู้ใช้ฮอตเมล์เข้า ล็อกอินรหัสเดิมไม่ได้ว่า จากการตรวจสอบเบื้องต้น มีข้อสังเกตว่า เวลาเข้าฮอตเมล์ต้องใส่ แอดฮอตเมล์ (@hotmail.com) จากเดิมที่พิมพ์แค่ชื่อเมล์เท่านั้น และไม่แน่ใจว่าเป็นการบังคับของฮอตเมล์หรือไม่ หรือผู้ใช้ไม่เคยชินกับการเข้าระบบ
“เรื่องเซิร์ฟเวอร์ เราไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น ไม่รู้ว่าเขาทำอะไรอยู่ บางคนบอกเข้าได้ บางคนบอกเข้าไม่ได้ เราก็ไม่สามารถระบุได้ว่าเซิร์ฟเวอร์เขามีปัญหาหรือไม่ เพราะว่ายังมีคนที่เข้าได้อยู่”
ส่วนกรณีที่ใส่ทั้งชื่อ และรหัสผ่าน ไปแล้วมีตัวอักษรภาษาอังกฤษและตัวเลขลายๆ ให้ใส่ ตามที่เห็นนั้นผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ เนคเทค ชี้แจงว่า เป็นวิธีการเช็คก่อนเข้าสู่ระบบ ยกตัวอย่างเช่น เวลาลงทะเบียนระบบ เพื่อให้แน่ใจว่ามีใช้งานจริง ไม่ใช่โปรแกรมเป็นผู้ทำ เพราะคอมพิวเตอร์จะทำไม่ได้ เป็นต้น
ส่วนอีกประเด็น คือ ฮอตเมล์หมดอายุ ปกติถ้าไม่เข้า 1 เดือน จะโดนตัดอีเมล์ทิ้ง ทั้งนี้ เวลาสมัครจะอยู่ที่กรอกอายุการใช้งาน อีกกรณี คือ ไม่แน่ใจว่า เวลามีผู้ใช้อีเมล์จำนวนมาก แล้วจะตัดอีเมล์ของผู้ใช้รายอื่นทิ้งหรือไม่ เพราะเป็นบริการฟรี ถ้าเปิดใช้งานจำนวนมาก ก็อาจจะเกิดขึ้นได้ หรือ สงวนไปให้ผู้อื่นใช้ได้ อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่า ปัญหาที่เกิดขึ้น ไม่เกี่ยวกับ กรณีที่ผู้ใช้งานเก็บข้อมูลไว้ในอีเมล์ เพราะแต่ละอีเมล์จะมีข้อจำกัดเรื่องความจุอยู่แล้ว ถ้าหน่วยความจำเต็ม อีเมล์ก็ไม่เข้าเท่านั้นเอง
นอกจากนี้ ดร.โกเมน ยังมีมุมมองส่วนตัว ว่าการเข้า เว็บฮอตเมล์ ไม่น่าจะโดนโจมตีระบบคอมพิวเตอร์และฐานข้อมูลด้วยวิธีการปลอมแปลงอีเมล์ หรือ เว็บไซต์ เพื่อหลอกให้ผู้ใช้อีเมล์และเว็บไซต์ เชื่อว่าเมล์นั้นมีความน่าเชื่อถือ หรือ ฟิชชิ่งด้วย ทั้งนี้ จากการทดลองโพสต์อีเมล์จำนวน 2 ชื่อ ที่ไม่ใช่ฮอตเมล์ ลงบนหน้าเฟซบุ๊ค นั้น พบว่า ภายในเวลา 5 นาที มีอีเมล์ที่ไม่รู้จักเป็นภาษาอังกฤษ ส่งกลับมาที่อีเมล์ที่โพสต์ โดยมีใจความว่าต้องการเป็นเพื่อน และอยากรู้จัก และมีข้อความเป็นลิงค์ ที่ให้คลิกเพื่อสู่เว็บไซต์นั้น
ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ เนคเทค อธิบายว่า ประเด็นแรก โซเชียลเน็ตเวิร์ค คือการชวนเพื่อนไปเรื่อยๆ เพราะฉะนั้น ถ้าใส่อีเมล์ลงบนโซเชียลเน็ตเวิร์ค ผู้อื่นอาจจะส่งมาขอเป็นเพื่อนกับเรา ประเด็นที่สอง ขณะนี้ มีโปรแกรมที่กวาดอีเมล์ที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต เช่น โปรแกรมที่แฮกเกอร์ เขียนขึ้นมาเพื่อเก็บชื่ออีเมล์โดยเฉพาะ แล้วเก็บไว้ในสต๊อกอีเมล์ พอถึงเวลา ก็จะส่งฟิชชิ่ง ไวรัส หรือ หนอน ที่เขาต้องการ ไปหาอีเมล์เป้าหมายเหล่านั้น
สำหรับวิธีป้องกัน คือ ไม่ส่งอีเมล์ ของตัวเองไปยังที่สาธารณะ หรือ ถ้าต้องการโพสต์อีเมล์ ก็ไม่ควรพิมพ์ลงไป ให้เลี่ยงเขียนบนกราฟฟิก หรือ ไฟล์รูปภาพ ที่ไม่ใช่ตัวอักษร เช่น ถ่ายรูปอีเมล์ แล้วโพสต์ ข้อความลงไป แต่ถ้า พิมพ์ลงบนโซเชียลเน็ตเวิร์คไปแล้ว คงทำอะไรไม่ได้แล้ว นอกจากป้องกันตัวเอง อย่ารับคำเชิญแปลกๆ จากอีเมล์ที่ไม่รู้จัก หรือ คลิกรับตามคำเชิญต่างๆ
วิธีการที่จะช่วยผู้ใช้งานขจัดปัญหา การล็อคอินเข้าบริการ Windows Live Hotmail เบื้องต้น มีดังนี้
สำหรับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับล็อคอินเข้าสู่ระบบฮอตเมล์ ทำตามวิธีด้านล่างนี้ เพื่อส่งเรื่องให้กับทีม Windows Live Hotmail ตรวจสอบ และติดต่อกลับทางอีเมล์ต่อไป
ขั้นตอนการแจ้งปัญหาการใช้ Hotmail (หากคุณไม่สามารถมองเห็นหน้านี้เป็นภาษาไทยได้ กรุณาไปดูรายละเอียดในการแก้ไขให้หน้านี้แสดงผลเป็นภาษาไทยที่ http://technology.impaqmsn.com/article.aspx?path=spec&rid=0&id=10976 )
1.เข้าเว็บไซต์ www.windowslivehelp.com
ขั้นตอนการแจ้งปัญหาการใช้ Hotmail (หากคุณไม่สามารถมองเห็นหน้านี้เป็นภาษาไทยได้ กรุณาไปดูรายละเอียดในการแก้ไขให้หน้านี้แสดงผลเป็นภาษาไทยที่ http://technology.impaqmsn.com/article.aspx?path=spec&rid=0&id=10976 )
1.เข้าเว็บไซต์ www.windowslivehelp.com
2.คลิกที่ ลงชื่อเข้าใช้ โดยใช้ Hotmail ของคุณ หรือ Windowslive ID อื่นๆ
3.คลิกที่ อภิปราย (Hotmail)
4.คลิกที่ ถามคำถาม
5.ถ้ายังไม่ได้ลงทะเบียนจะพบข้อความนี้ สามารถทำรายการต่อได้โดย คลิกที่ “ต่อ” และลงทะเบียนก่อน
6.จากนั้นสามารถ ถามคำถามได้โดยกรอกข้อมูลในช่องต่างๆ เลือกกลุ่มของปัญหา และ กดส่ง (Submit)
7. ปัญหาของท่านจะถูก post เข้ามาใน Forum และสามารถเข้ามาตรวจสอบรายละเอียดการแก้ไขได้ภายใน 48 ชม.
ลิงค์อื่นๆที่จำเป็น 1.สำหรับผู้ที่ไม่สามารถล็อคอินได้ แต่ยังสามารถจำอีเมล์อีกหนึ่งบัญชี ที่กรอกไว้ตอนสมัครบริการครั้งแรก ให้คลิกที่ลิงค์นี้ เพื่อทำการกู้รหัสผ่านของท่าน
https://windowslivehelp.com /PasswordReset.aspx 2. สำหรับผู้ที่ไม่สามารถล็อคอินได้ และไม่สามารถจำอีเมล์อีกหนึ่งบัญชี ที่กรอกไว้ตอนสมัครบริการครั้งแรก ให้คลิกที่ลิงค์นี้ เพื่อทำการส่ง Request ให้กับทีมงาน Hotmail เพื่อดำเนินการตรวจสอบต่อไป https://windowslivehelp.