เมื่อ วิเคราะห์พฤติกรรมเสี่ยงติดเชื้อเอดส์ พบว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากการสำรวจปี 2548 ร้อยละ 62.8 มาอยู่ที่ร้อยละ 83.2 ในการสำรวจปี 2553 ครั้งล่าสุด
และผลสำรวจยัง พบด้วยว่า สัดส่วนของคนที่ระบุมีคนใกล้ชิดติดเชื้อเอดส์เพิ่มสูงขึ้นจากร้อยละ 11.4 ในปี 2548 มาอยู่ที่ร้อยละ 16.1 ในปี 2553 โดยในกลุ่มที่มีคนใกล้ชิดติดเชื้อเอดส์ร้อยละ 43.8 ระบุเป็นเพื่อนหรือคนรู้จัก ร้อยละ 29.6 ระบุเป็นเพื่อนบ้าน ร้อยละ 22.2 ระบุญาติพี่น้องที่พักอาศัยต่างบ้านกัน รองๆ ลงไปคือ เพื่อนร่วมงาน ญาติในบ้านเดียวกัน และอื่นๆ คือ สามี ภรรยา แฟน และคนรัก เป็นต้น
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ แนวโน้มการยอมรับผู้ป่วยโรคเอดส์ในสังคมไทยยังไม่เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ
และผลวิจัยค้นพบว่า ถ้าผู้ป่วยโรคเอดส์มีระยะใกล้ชิดกับคนตอบแบบสอบถามมากเพียงไร สัดส่วนของคนที่ยอมรับผู้ป่วยเอดส์ก็จะลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เช่น การยอมรับผู้ป่วยโรคเอดส์ที่ยืนรอรถเมล์ป้ายเดียวกันรับได้ร้อยละ 87.4 ในปี 2548 และร้อยละ 86.7 ในการสำรวจครั้งล่าสุด การดูหนังในโรงภาพ ยนตร์เดียวกัน รับได้ร้อยละ 83.9 ในปี 2548 และร้อยละ 81.6 ในปี 2553 และมีบ้านอยู่ติดกับบ้านของผู้ป่วยโรคเอดส์ รับได้ร้อยละ 76.9 ในปี 2548 และร้อยละ 71.7 ในปี 2553 แต่เมื่อถามถึงการโอบกอดผู้ป่วยโรคเอดส์ พบว่า รับได้ร้อยละ 24.6 ในปี 2548 และร้อยละ 41.1 ในปี 2553 และถ้าดื่มน้ำแก้วเดียวกันกับผู้ป่วยโรคเอดส์ พบว่ารับได้ร้อยละ 17.7 ปี 2548 และร้อยละ 13.7 ในปี 2553 ตามลำดับยิ่ง ไปกว่านั้น เห็นได้ชัดเจนว่า ส่วนใหญ่ของผู้ถูกศึกษาหรือร้อยละ 67.4 ในปี 2548 และร้อยละ 56.7 ในปี 2553 ยังคงรู้สึกว่า โรคเอดส์เป็นเรื่องน่ากลัวและ ถ้าคนที่ตนเองรักติดเชื้อโรคเอดส์ พบว่าสัดส่วนของคนที่ยอมรับได้ลดลงจากร้อยละ 66.7 ในปี 2548 มาอยู่ที่ร้อยละ 40.4 ในปี 2553 และสัดส่วนของคนที่ยอมรับไม่ได้เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 12.9 ในปี 2548 มาอยู่ที่ร้อยละ 30.0 ในปี 2553 สำหรับแนวทางป้องกันในมุมมองของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 67.7 ระบุป้องกันทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ สวมถุงยางอนามัย รองๆ ลงไปคือ ไม่เปลี่ยนคู่นอน ไม่มีคู่นอนหลายคน เปลี่ยนเข็มฉีดยาทุกครั้งเมื่อมีการใช้งานแล้ว และควรรณรงค์ให้ข้อมูลประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบอย่างทั่วถึง
ผอ.ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า เมื่อเวลาผ่านไป
4-5 ปี พฤติกรรมเสี่ยงของประชาชนในการติดเชื้อเอชไอวี และเป็นโรคเอดส์เพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่การยอมรับและไม่ยอมรับผู้ป่วยโรคเอดส์ยังไม่เปลี่ยนแปลงไปจากการ สำรวจเมื่อ 5 ปีก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าต้องใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคเอดส์มากเท่าไหร่ สัดส่วนของคนที่ยอมรับผู้ป่วยโรคเอดส์มีน้อยลงอย่างเห็นได้ชัดเจน
จากผลสำรวจ มีข้อเสนอแนะให้เฝ้าระวังสถานการณ์โรคเอดส์ในสถานที่ทำงาน เพราะผลสำรวจพบมีแนวโน้มการมีเพศสัมพันธ์ของ "คนทำงาน"
และในเครือข่ายสังคมทางอินเตอร์เน็ตต่างๆ เพราะมีอัตราการเพิ่มขึ้นของคนที่มีเพศสัมพันธ์กันเกือบเท่าตัว ทางออกคือ การเร่งรณรงค์ให้กับประชาชนในสถานที่ทำงาน ทั้งหน่วยงานรัฐและเอกชน และคำเตือนรณรงค์ป้องกันและให้มีการยอมรับผู้ป่วยโรคเอดส์ ไม่กีดกัน ไม่แสดงความรังเกียจผู้ป่วยทั้งในที่ทำงาน สถานประกอบการต่างๆ ในชุมชนหนาแน่น และในโลกออนไลน์
นาย จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า เนื่องในวันเอดส์โลก ซึ่งตรงกับวันที่ 1 ธ.ค.ของทุกปี การจัดกิจกรรมในปีนี้ใช้คำขวัญว่า "สิทธิทางเพศ สิทธิด้านเอดส์ คือสิทธิมนุษยชน"
ปี นี้เน้นการจัดนิทรรศการให้ความรู้กับเยาวชน และการกระจายถุงยางอนามัยให้ทั่วถึง เนื่องจากถือเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันการติดเชื้อ สำหรับสถานการณ์โรคเอดส์ในประเทศไทย ขณะนี้มีจำนวนผู้ติดเชื้อที่ยังมีชีวิตอยู่ 520,000 คน ขณะ ที่การติดเชื้อจากชายรักชาย มีร้อยละ 33 ถือว่าเป็นจำนวนมากที่สุด รองลงมาติดเชื้อจากคู่นอนร้อยละ 28 และการติดเชื้อจากใช้เข็มฉีดยาร่วมกันเพื่อเสพยาเสพติด นอกจากนี้ ยังพบว่าแต่ละปี มีผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นประมาณ 10,000 คน ดังนั้นในปี 2554 ตั้งเป้าลดจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ลงครึ่งหนึ่ง หรือประมาณ 5,000 ราย พร้อมเตรียมผลักดันให้แพทยสภาพิจารณาให้ผู้มีอายุต่ำกว่า 18 ปี สามารถตรวจเลือดหาเชื้อเอดส์ได้ด้วยความสมัครใจ โดยไม่ต้องผ่านคำยินยอมจากผู้ปกครองเพื่อป้องกันความอาย และกลัวผู้ปกครองตำหนิ ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงการรักษา |
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น